ความหมายของระบบ (System)
ระบบ (System) คือหน่วยย่อยที่ประกอบกันเป็นหน่วยใหญ่เพื่อให้บรรลุวัตถูประสงค์หรือเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งหน่วยย่อยเหล่านั้นสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี โดยมีความสัมพันธ์และใช้กระบวนการหรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจัดระเบียบองค์ประกอบหรือหน่วยย่อยเหล่านั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือจุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบจึงจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบอื่นๆหลายส่วนเช่น บุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการ วัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้
ทำไมถึงต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ
การวิเคราะห์ระบบเป็นการใช้กระบวนการเพื่อศึกษาถึงรายละเอียดของปัญหาต่างๆว่า ระบบที่พิจารณานั้นต้องทำอะไรบ้างโดยหาความต้องการให้ได้ว่าต้องการแก้ปัญหาหรืออยากได้อะไรเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ
หน้าที่ของนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบมีบทบาทในการศึกษาความต้องการใช้งานของผู้ใช้ ว่าต้องการให้สร้างหรือพัฒนาระบบไปในแนวทางไหนโดยทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ศึกษาปัญหา วิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวให้มากที่สุด และนำสิ่งที่ออกแบบไว้ไปอธิบายให้กับโปรแกรมเมอร์หรือช่างเทคนิคที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
1.มีความรู้พื้นฐานในวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์
2.มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเจรจาและประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
3.เป็นคนช่างสังเกต มีไหวพริบ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
4.สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆแยกประเด็นย่อยๆหรือละเอียดเจาะลึกได้เป็นอย่างดี
5.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบธุรกิจองค์กรทั้งในเรื่องการบัญชี งบประมาณ การตลาด
6.มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
7.สามารถควบคุมเวลาแผนงานให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้
8.มีความสามารถในการสื่อสารและนำเสนองานแก่ผู้เกี่ยวข้องให้เป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้โดยง่าย
9.ปรับตัวรับภาระการทำงานที่กดดันได้เป็นอย่างดี
วงจรการพัฒนาระบบ
1.กำหนดปัญหา (Problem Definition) ในขั้นตอนแรกมีความสำคัญต่อการวิเคราะห์และออกแบบระบบมากเพราะจะต้องมีการเก็บรายละเอียดต่างๆ โดยรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของระบบเดิม
2.วิเคราะห์ระบบ (Analysis) เป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ โดยวิเคราะห์การทำงานของระบบเดิม
3.ออกแบบระบบ (Design) เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวกับกานนำเสนอระบบใหม่ว่าจะพัฒนาอย่างไร โดยนำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้จากขั้นตอนที่แล้วมาแยกย่อยแลแออกแบบให้ตรงตามความต้องการ เป็นเหมือนพิมพ์เขียวของระบบ
4.พัฒนาระบบ (Development) เป็นขั้นที่สร้างระบบตามแบบพิมพ์เขียวที่ไดออกแบบไว้ โดยลงมือเขียนโปรแกรมในแต่ละขั้นที่ออกแบบไว้ แล้วนำมาประกอบกันเพื่อให้สามารทำตามความต้องการที่ออกอแบบไว้
5.ทดสอบระบบ (Testing) เมื่อได้โปรแกรมหรือระบบตามที่ทีมพัฒนาโปรแกรมเขียนไว้แล้ว หัวทีมพัฒนาระบบ ที่รับผิดชอบในการเขียนโปรแกรมเหล่านี้ จะต้องดูแลเรื่องการทดสอบระบบและจัดทำคู่มือให้ผู้ใช้งานนำไปปฏิบัติได้อย่างง่ายด้วย
6.ติดตั้งระบบ (Installation) หลังจากทดสอบการใช้งานรีบยร้อยแล้ว นำระบบที่พัฒนามาติดตั้งเพื่อใช้งานจริง
7.การบำรุงรักษา (Maintenance) เป็นขั้นตอนสำคัญหลังจากนำระบบที่ผ่านการทดสอบแล้วไปใช้งานจริงซึ่งระบบอาจเกิดปัญหาขึ้นอีกก็ได้ ดังนั้นจะต้องวางแผนเตรียมการรองรับหรือแก้ไขปัญหาในการใช้งานระบบอยู่ตลอดเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น