ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งหรือ โปรแกรมคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์เป็นตัวเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้ระบุความต้องการไว้ภายใต้ซอฟต์แวร์หลังจากนั้นซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่สั่งการควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด
ซอฟต์แวร์ แบ่งได้ เป็น 2 ประเภท
1.ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานพื้นฐานของฮาร์ดแวร์
ระบบปฏิบัติการ (OS – Operating System)
คุณสมบัติการทำงาน
การทำงานแบบ Multi-Tasking คือ ความสามารถในการทำงานได้หลายๆงานหรือหลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ ซึ่งในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการจะอยู่รูปแบบที่เรียกว่า single-tasking ซึ่งจะทำงานที่ละโปรแกรมคำสั่ง ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะสลับงานไปมาระหว่างโปรแกรมหรือทำงานควบคู่กันได้ แต่สำหรับปัจจุบันจะเห็นลักษณะการทำงานแบบนี้มากขึ้น เช่น ในระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นใหม่ๆ
การทำงานแบบ Multi – User ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติที่มีหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบุติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า multi-user หรือความสามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลายๆคนขณะที่มีการประมวลผลพร้อมๆกัน ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึง
ประเภทของระบบปฏิบัติการ
1.ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS )
Windows ใช้หลักการแบ่งออกเป็นส่วนๆที่เรียกว่า หน้าต่างงาน ซึ่งจะแสดงผลแต่ละโปรแกรม ปัจจุบันได้ความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายและมีการผลิตและจำหน่ายออกมาหลายๆรุ่นด้วยกัน ขณะนี้ Windows 8 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด
2.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)
Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะรุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT และพัฒนาต่อมาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุดคือ Windows server 2008 ผลิตมาเพื่อรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟท์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (server)
Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากเปิดให้ใช้และพัฒนาต่อยอดเพื่อแก้ไขชุดคำสั่งๆได้ฟรี
OS /2 Warp Server เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายอีกรูปแบบหนึ่ง ออกแบบมาใช้งานสำหรับคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายสำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี
Solaris เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix (Unix compatible) พัฒนาขึ้นโดยบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ สามารถรองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเดียวกันระบบอื่นๆ
3.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS)
Palm OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อมๆกันกับการนำเอาคอมพิวเตอร์แบบพกพามาใช้ในยุคแรกๆที่เรียกกันว่าเครื่อง Palm ซึ่งได้รับนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา
Symbian OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone
OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่อง I phone ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทแบบพกพา และเป็นระบบปฏิบัติการเดียวที่ใช้ในเครื่อง Mac
Android ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์พกพา ที่พัฒนาโดยบริษัท Google ผู้นำด้านเสิร์ชเอ็นจิ้นชื่อดัง มีโปรแกรมสำหรับใช้งานเช่น SMS ปฏิทินกำหนดการ บราวเซอร์ สมุดโทรศัพท์ และ YouTube สารานุกรมออนไลน์ Wiki Mobile แผนที่นำทางของ google maps
โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (Utility Program)
เป็นโปรแกรมที่สำคัญสำหรับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่าระบบปฏิบัติการคุณสมบัติในการใช้งานค่อนข้างหลากหลายหรือใช้งานได้อรรถประโยชน์ มักนิยมเรียกสั่นๆว่า ยูทิลิตี้ (utility) แบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ
1.ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ(OS Utility Programs) เช่น
· ประเภทการจัดการไฟล์ (File Manager)
· ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstaller)
· ประเภทการสแกนดีสก์ (Disk Scanner)
· ประเภทการจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Defragmenter)
· ประเภทรักษาหน้าจอ (Screen Saver)
2.ยูทิลิตี้อื่นๆ (Stand – Alone Utility Programs) เช่น
· โปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti Virus Program)
· โปรแกรมไฟล์วอลล์ (Firewall)
· โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility)
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
· ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing) เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ช่วยในการประมวลผลคำซึ่งคุณสมบัติเด่นก็คือ สามารถจัดการเอกสารต่างๆได้ เช่น ขนาดตัวอักษรใหญ่ เล็ก รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น
· ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet) เป็นกลุ่นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณต่างๆ โดยส่วนมากแล้วจะมีการทำงานที่เรียกว่า ตารางคำนวณ มักนำไปใช้กับงานด้านบัญชี
· ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database) การประมวลผลที่เกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมากจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการสร้างและรวบรวมข้อมูลต่างๆให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น
· ซอฟต์แวร์นำเสนองาน (Presentation) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในเรื่องของการนำเสนองานเป็นหลักซึ่งอาจใส่ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ หรือเสียงต่างๆ
· ซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพ(Paint/image editing) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างและจัดการรูปภาพต่างๆ เช่น การจัดองค์ประกอบสี แสงของภาพ รวมถึงการวาดภาพลายเส้นต่างๆ
· ซอฟต์แวร์สำหรับตัดต่อวีดีโอและเสียง (Video and audio editing) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติหลักคือ การจัดการเสียงและรูปแบบไฟล์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว เช่นการตัดต่อวีดีโอ การผสมเสียง เป็นต้น
· ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia authoring) เป็นซอฟต์แวงร์ที่ผนวกเอาสื่อ หลายๆชนิด(multimedia) เช่น ข้อความ เสียง รูปภาพ รวมถึงเทคนิคการเคลื่อนไหวต่างๆมาประกอบกันเพื่อให้การนำเสนอมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น