บทที่ 7 การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ
ความหมายของระบบ (System)
ระบบ (System) คือหน่วยย่อยที่ประกอบกันเป็นหน่วยใหญ่เพื่อให้บรรลุวัตถูประสงค์หรือเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งหน่วยย่อยเหล่านั้นสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี โดยมีความสัมพันธ์และใช้กระบวนการหรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจัดระเบียบองค์ประกอบหรือหน่วยย่อยเหล่านั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือจุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบจึงจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบอื่นๆหลายส่วนเช่น บุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการ วัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้
ทำไมถึงต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ
การวิเคราะห์ระบบเป็นการใช้กระบวนการเพื่อศึกษาถึงรายละเอียดของปัญหาต่างๆว่า ระบบที่พิจารณานั้นต้องทำอะไรบ้างโดยหาความต้องการให้ได้ว่าต้องการแก้ปัญหาหรืออยากได้อะไรเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ
หน้าที่ของนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบมีบทบาทในการศึกษาความต้องการใช้งานของผู้ใช้ ว่าต้องการให้สร้างหรือพัฒนาระบบไปในแนวทางไหนโดยทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ศึกษาปัญหา วิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวให้มากที่สุด และนำสิ่งที่ออกแบบไว้ไปอธิบายให้กับโปรแกรมเมอร์หรือช่างเทคนิคที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
1.มีความรู้พื้นฐานในวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์
2.มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเจรจาและประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
3.เป็นคนช่างสังเกต มีไหวพริบ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
4.สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆแยกประเด็นย่อยๆหรือละเอียดเจาะลึกได้เป็นอย่างดี
5.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบธุรกิจองค์กรทั้งในเรื่องการบัญชี งบประมาณ การตลาด
6.มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
7.สามารถควบคุมเวลาแผนงานให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้
8.มีความสามารถในการสื่อสารและนำเสนองานแก่ผู้เกี่ยวข้องให้เป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้โดยง่าย
9.ปรับตัวรับภาระการทำงานที่กดดันได้เป็นอย่างดี
วงจรการพัฒนาระบบ
1.กำหนดปัญหา (Problem Definition) ในขั้นตอนแรกมีความสำคัญต่อการวิเคราะห์และออกแบบระบบมากเพราะจะต้องมีการเก็บรายละเอียดต่างๆ โดยรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของระบบเดิม
2.วิเคราะห์ระบบ (Analysis) เป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ โดยวิเคราะห์การทำงานของระบบเดิม
3.ออกแบบระบบ (Design) เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวกับกานนำเสนอระบบใหม่ว่าจะพัฒนาอย่างไร โดยนำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้จากขั้นตอนที่แล้วมาแยกย่อยแลแออกแบบให้ตรงตามความต้องการ เป็นเหมือนพิมพ์เขียวของระบบ
4.พัฒนาระบบ (Development) เป็นขั้นที่สร้างระบบตามแบบพิมพ์เขียวที่ไดออกแบบไว้ โดยลงมือเขียนโปรแกรมในแต่ละขั้นที่ออกแบบไว้ แล้วนำมาประกอบกันเพื่อให้สามารทำตามความต้องการที่ออกอแบบไว้
5.ทดสอบระบบ (Testing) เมื่อได้โปรแกรมหรือระบบตามที่ทีมพัฒนาโปรแกรมเขียนไว้แล้ว หัวทีมพัฒนาระบบ ที่รับผิดชอบในการเขียนโปรแกรมเหล่านี้ จะต้องดูแลเรื่องการทดสอบระบบและจัดทำคู่มือให้ผู้ใช้งานนำไปปฏิบัติได้อย่างง่ายด้วย
6.ติดตั้งระบบ (Installation) หลังจากทดสอบการใช้งานรีบยร้อยแล้ว นำระบบที่พัฒนามาติดตั้งเพื่อใช้งานจริง
7.การบำรุงรักษา (Maintenance) เป็นขั้นตอนสำคัญหลังจากนำระบบที่ผ่านการทดสอบแล้วไปใช้งานจริงซึ่งระบบอาจเกิดปัญหาขึ้นอีกก็ได้ ดังนั้นจะต้องวางแผนเตรียมการรองรับหรือแก้ไขปัญหาในการใช้งานระบบอยู่ตลอดเวลา
บทที่ 6 -ข้อมูลและการจัดการข้อมูล
ความหมายของข้อมูล
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
ความถูกต้อง(Accuracy) ข้อมูลที่ดีต้องมีความถูกต้องเพื่อให้สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้
มีความเป็นปัจจุบัน (Update) ข้อมูลที่ดีจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นปัจจุบันอยูเสมอเนื่องจากปกติข้อมูลจะมีลักษณะที่คงที่
ตรงตามความต้องการ (Relevance) ควรมีการสำรวจเกี่ยวกับขอบเขตข้อมูลที่จะนำมาใช้เพื่อให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของหน่วยงานให้มากที่สุด
ความสมบูรณ์ (Complete) การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์นั้นจะต้องมีความสมบูรณ์ของข้อมูลมากพอจะทำให้การนำเอาไปใช้นั้นเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
การแบ่งลำดับชั้นของการจัดการข้อมูล (Hierarchy of Data)
บิต (Bit – Binary Digit)
เป็นลำดับชั้นของหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ดังที่เราทราบกันดีว่าข้อมูลที่ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้นั้นจะเอามาแปลงให้อยู่ในรูปของเลขฐานสองเสียก่อนคอมพิวเตอร์ถึงจะเข้าใจและทำงานได้ตามที่ต้องการ เมื่อแปลงแล้วจะได้ตัวเลขตามสถานะเปิดและปิดของสัญญาไฟฟ้าที่เรียกว่า บิต เพียง 2 เท่านั้น คือ 0 และ 1
ไบต์ (Byte)
เมื่อนำบิตมารวมกันหลายๆบิตจะได้หน่วยข้อมูลกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า ไบต์ (byte) ซึ่งจำนวนของบิตที่ได้ในแต่ละกลุ่มอาจมีมากหรือน้อยบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรหัสที่ใช้เก็บ แต่โดยโดยปกติกับการใช้งานในรหัสแอสกีทั่วไปจะได้กลุ่มของบิตจำนวน 8 บิตด้วยกันซึ่งนิยมนำมาแทนรหัสของตัวอักษรบางครั้งจึงนิยมเรียกข้อมูล 1 ไบต์ว่าเป็น 1 ตัวอักษรนั่นเอง
ฟิลด์ หรือเขตของข้อมูล (Field)
ประกอบด้วยกลุ่มของตัวอักษรหรือไบต์ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปมาประกอบกันเป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น ข้อมูลพนักงาน รหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล เงินเดือน ตำแหน่ง เป็นต้น
เรคอร์ด (Record)
เป็นฟิลด์ที่มีความสำพันธ์กันและนำมาจัดเก็บรวมกันเป็นหน่วยใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพียงหน่วยเดียว ปกติการจัดการข้อมูลใดมักประกอบไปด้วยหลายๆเรคร์อด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลเป็นหลัก
ไฟล์ หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File)
ฐานข้อมูล (Database)
ฐานข้อมูลเกิดจากการรวบรวมเอาแฟ้มตารางข้อมูลหลายๆแฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันนั้นมาเก็บรวมกันไว้ที่เดียว โดยจะมีคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างฐานข้อมูลที่เรียกว่า พจนานุกรม (data dictionary) ซึ่งจะใช้อธิบายลักษณะของข้อมูลที่เก็บไว้ เป็นต้นว่า โครงสร้างของแต่ละตารางเป็นอย่างไร ประกอบด้วยฟิลด์อะไรบ้าง คุณลักษณะของแต่ละฟิลด์และความสัมพันธ์ของแต่ละแฟ้มเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือว่ามีความจำเป็นมากและจะถูกเรียกใช้ในระหว่างที่มีการประมวลผลข้อมูลนั่นเอง
บทที่ 5 ระบบปฏิบัติการและหลักการทำงาน
ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
ระบบปฏิบัติการคือ ซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าจัดการและควบคุมโปรแกรมประยุกต์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมไปถึงการติดต่อประสานงานกับอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ไบออส (BIOS – Basic Input Output System) รากฐานรองรับระบบปฏิบัติการ
ไบออสเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มคำสั่งที่บรรจุอยู่ในหน่วยความจำ ROM ซึ่งเก็บข้อมูลอย่างถาวรถึงแม้จะไม่มีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม มีหน้าที่หลักคือ ควบคุมอุปกรณ์มาตรฐานในเครื่อง เช่น ซีพียู หน่วยความจำ ROM และRAM เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ พอร์ตแบบต่างๆเป็นต้น เช่น พอร์ตอนุกรม พอร์ต USB ฯลฯ
1.พาวเวอร์ซับพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพรยูเริ่มทำงาน พาวเวอร์ซับพลาย (power supply) ทำหน้าที่จ่ายพล่งงานไปให้อุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มต้นทำงานทันทีเมื่อปุ่มกดเปิด (power on) และเมื่อเริ่มทำงานก็จะมีสัญญาณส่งไปบอกซีพียูด้วย เรียกว่า สัญญาณ Power Good
2.ซีพียูจะสั่งให้ไบออสทำงาน ทันทีที่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายมายังคอมพิวเตอร์และมีสัญญาณให้เริ่มทำงาน หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูจะพยายามเข้าถึงข้อมูลในไบออสเพื่อทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้โดยทันที
3.เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆ กระบวนการ POST (power on self test) เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งในไบออสซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด RAM ซีพียู รวมถึงอุปกรณ์ต่อพวงอื่นๆเช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์
4.ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเทียบกับข้อมูลที่อยู่ซีมอส ข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกติดตั้งแล้วในเครื่องหรือค่า configuration จะเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS – complementary metal oxide semiconductor)
5.ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตจากฟล็อปปี้ดิสก์ ซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ ขั้นถัดไปไบออสจะเข้าไปอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตระบบปฏิบัติการจากเซกเตอร์แรกของฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์หรือซีดีรอม
6.โปรแกรมส่วนสำคัญจะถูกถ่ายลงหน่วยความจำ RAM เมื่อไบออสรู้จักระบบไฟล์ของไดรว์ที่บู๊ตได้แล้วก็จะไปอ่านโปรแกรมส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า เคอร์เนล (kernel) เข้ามาเก็บในหน่วยความจำหลักหรือ RAM ของคอมพิวเตอร์เสียก่อน
7.ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผล
ประเภทของการบู๊ตเครื่อง
1.โคลด์บู๊ต (Cold boot) เป็นบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (power on) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที
2.วอร์มบู๊ต (Warm boot) เป็นบู๊ตเครื่องโดยการทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่ที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง (restart) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องการบู๊ตเครื่องกันใหม่
การจัดการกับไฟล์ (File Management)
ความหมายของไฟล์ (File)
ไฟล์ เป็นหน่วยในการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเก็บอยู่ในสื่อเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆเช่น ฟล็อปปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ หรือซีดีรอม เป็นต้น
ลำดับโครงสร้างไฟล์ (Hierarchical File System)
เมื่อต้องการเก็บข้อมูลก็จะมีการจัดเก็บไฟล์ที่แยกโครงสร้างออกเป็นส่วนๆเหมือนกิ่งกานสาขาต้นไม้แต่ละกิ่งเรียกว่า โฟลเดอร์ (Folder) ซึ่งเป็นที่รวมไฟล์ข้อมูลเรื่องเดียวกันเข้าไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้สามารถเรียกใช้ได้โดยง่ายแบ่งเป็น 2 ส่วนย่อยดังนี้คือ
1.ไดเร็คทอรี (Directory) เป็นโฟล์เดอร์สำหรับจัดหมวดหมู่ไฟล์ขั้นสูงสุดในระบบ บางครั้งอาจเรียกว่า root directory ซึ่งบางระบบปฏิบัติการจะรวมทุกทุกไดรว์ไว้ในไดเร็คทอรีเดียวกัน
การจักการหน่วยความจำ (Memory Management)
การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล (I/O Device Management)
ในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น อุปกรณ์นำเข้ามากกว่าหนึ่งตัวสามารถส่งข้อมูลเข่ไปยังระบบปฏิบัติการได้พร้อมๆกัน และในขณะนั้นระบบปฏิบัติการก็อาจต้องการส่งข้อมูลจากหลายๆโปรแกรมไปยังอูปกรณ์แสดงผลด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากอัตราการรับส่งข้อมูลของแต่ละอุปกรณ์มีความเร็วต่ำกว่าซีพียูมาก ระบบปฏิบัติการจึงได้เตรียมพื้นที่ส่วนหนึ่ง จะเป็นในหน่วยความจำหรือ ฮาร์ดดิสก์ก็ตาม เรียกว่า บัฟเฟอร์ (buffer) เพื่อเป็นที่พักรอของข้อมูลที่อ่านเข้ามาเตรียมส่งออกไปยังอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ
การจัดการกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU Management)
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำงานหลายๆงานพร้อมกันหรือที่เรียกว่า multi-tasking นั้น ระบบปฏิบัติการจำเป็นต้อมีการแบ่งเวลาของซีพียู เพื่อประมวลผลต่างๆเหล่านั้นด้วย เนื่องจากซีพียูสามารถทำงานได้เพียงทีละ หนึ่งคำสั่งเท่านั้น โดยจะสลับการทำงานไปมาระหว่างโปรแกรมของแต่ละงาน ผู้จึงมองเห็นเสมือนว่าหลายๆโปรแกรมทำงานได้ในเวลาเดียวกัน
นอกจากนั้นในการทำงานกับคอมพิวเตอร์เพื่อให้การประมวลผลที่เร็วมากยิ่งขึ้น จะมีการใช้ซีพียูมากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาทำงานร่วมกันหรือเรียกว่า multi-processing ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆคำสั่งงานในเวลาเดียวกัน
บทที่ 4 ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่สามารถสัมผัสได้ โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการประมวลผลข้อมูล การรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์
n หน่ายรับข้อมูล (Input Unit)
n หน่วยประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit : CPU)
n หน่วยเก็บข้อมูล (Memory Unit)
n หน่วยติดต่อสื่อสาร (Communication Unit)
n หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่ายรับข้อมูล (Input Unit)
1.คีย์บอร์ด (Keyboard)
2.เมาส์ (Mouse)
3.เครื่องอ่านรหัสหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magnetic Ink Character Reader : MICR)
4.เครื่องอ่านเครื่องหมายเชิงแสง (Optical mark reader : OMR)
5.เครื่องอ่านตัวอักษรเชิงแสง (Optical Character Reader : OCR)
6.เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)
7.สแกนเนอร์ (Scanner)
8.ปากกาแสง (Light Pen)
9.จอยสติก (Joy Sticks)
10.จอสัมผัส (Touch Screen)
11.เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal)
12.แผ่นสัมผัส (Touch Pads)
13.กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
14.อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)
หน่วยประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit : CPU)
-ทำหน้าที่ในการประมวลผลตามคำสั่งของโปรแกรมที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำหลัก
-หน่วยประมวลผลกลางจะประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าที่เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor)
-หน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางมีหน่วยวัดเป็น MHz แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาถึงระดับ GHz คือ พันล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที
หน่วยควบคุม (Control Unit)
ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เปรียบเสมือนศูนย์กลางของระบบประสาท หน้าที่ของหน่วยควบคุม คือ อ่านคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำ ถอดรหัสคำสั่ง และทำงานตามคำสั่ง ที่ละคำสั่งจนหมดคำสั่งที่จะประมวลผล
หน่วยคำนวณและตรรกะ
(Arithmetic & Logical Unit : ALU)จะมีหน้าที่ในการทำงาน 2 ลักษณะคือ
1. ประมวลผลการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operation)
2. ประมวลผลเชิงตรรกวิทยา (Logical Operation)
หน่วยเก็บข้อมูล (Memory Unit)
คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่รับจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางประมวลผลตามโปรแกรมคำสั่งและเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล เพื่อส่งต่อให้กับหน่วยแสดงผล หรือเรียกใช้ข้อมูลภายหลังได้ หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)หน่วยความจำที่เก็บข้อมูล และโปรแกรมคำสั่ง ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์
2) หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) หน่วยความจำสำรองจึงมีหน้าที่ในเก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งอย่างถาวร
หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1.หน่วยความจำถาวร ( Permanent Memory) เป็นชิปที่บันทึกโปรแกรมคำสั่งอย่างถาวรโดยผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ สามารถเรียกอ่านและใช้งานได้แต่ไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมโปรแกรมคำสั่งในภายหลังได้ หน้าที่ของ ROM คือ เก็บโปรแกรมคำสั่งเริ่มต้นในการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการตรวจสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทุกระบบถ้าพบข้อผิดพลาดจะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ
2.หน่วยความจำชั่วคราว (Non-Permanent Memory) (Random Access Memory-RAM)
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)
เนื่องจากหน่วยความจำหลักไม่สามารถเก็บข้อมูลได้หมดและสามารถเก็บข้อมูลได้ชั่วคราวในขณะที่ใช้งาน หน่วยความจำสำรองจึงมีหน้าที่ในเก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งอย่างถาวร นอกจากนั้นหน่วยความจำสำรองยังเป็นสื่อในการเรียกใช้ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้ เช่น ฮาร์ดแวร์ ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ซีดี (Compact Disk - CD) Thumb Drive หรือ Jump Drive หรือ Handy Drive
หน่วยติดต่อสื่อสาร (Communication Unit)
1.โมเด็ม (MODEM)
-Internal Modem มีลักษณะเป็นการ์ดติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ราคาถูกแต่ขั้นตอนในการติดตั้งยุ่งยาก
2.แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card : NIC หรือ LAN card)
หน่วยแสดงผล (Output Unit)
1.จอภาพ (Monitor)
2.จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)